ความสำคัญของเครื่องเสียงกลางแจ้งกับงานดนตรี
ถ้าหากคุณเคยไปเที่ยวงานคอนเสิร์ตที่จัดขึ้นกลางลานสนามหญ้าหรือริมทะเล นักดนตรีและเสียงเพลงแทบจะเป็นองค์ประกอบหลัก ๆ ที่จะทำให้คุณได้รับอรรถรสของความสุขได้ รวมไปถึงบรรยากาศภายในงาน แสง สี ต่าง ๆ ทั้งหมดสามารถสร้างความสุขให้แก่คุณได้ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญและเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับงานคอนเสิร์ตที่จะสร้างความสุขให้แก่คุณได้ นั่นคือ เครื่องเสียงกลางแจ้ง
เครื่องเสียงกลางแจ้ง (P.A Sound System)
เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งต่องานคอนเสิร์ตเป็นอย่างมาก โดยจะทำหน้าที่กระจายเสียงให้ให้แก่ผู้คนในงานที่มีจำนวนมากให้สามารถได้ยินเสียงดนตรีที่นักดนตรีกำลังบรรเลงอยู่บนเวที หรือกล่าวได้ว่าเครื่องเสียงกลางแจ้งเปรียบเสมือนระบบตัวกลางที่ทำให้นักดนตรีสามารถถ่ายทอดอารมณ์บทเพลงต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนที่มารับชมดนตรีในงานคอนเสิร์ตนั่นเอง
เครื่องเสียงกลางแจ้งจะต้องมีคุณภาพที่ดี เพื่อที่จะถ่ายทอดเสียงออกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เสียงเป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ โดยเสียงจะเดินทางผ่านตัวกลางได้หลายสถานะ ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ซึ่งเสียงจะมีองค์ประกอบหลัก ๆ คือ
- แอมพลิจูด (Amplitude)
- ความถี่ (Frequency)
- เฟส (Phase)
- ความเร็วของเสียงในอากาศ (Velocity)
- ความยาวคลื่น (Wavelength)
- ฮาร์มอนิกส์ (Harmonic)
- เอวเวลอป (Envelope)
อ่านเพิ่มเติมเสียงเกิดขึ้นได้อย่างไร
สรุป : จากองค์ประกอบของเสียงที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า เสียงค่อนข้างที่จะมีรายละเอียดที่ซับซ้อนพอสมควร จึงทำให้การเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบเสียงกลางแจ้งต้องมีคุณภาพที่ดีกับงานคอนเสิร์ต เหมาะสมกับแนวดนตรีและรูปแบบวงดนตรี เหมาะสมกับขนาดสถานที่ ใช้บริการเครื่องเสียงกลางแจ้งคุณภาพดี
3 ส่วนประกอบหลักของเครื่องเสียงกลางแจ้ง
ก่อนที่เสียงจะถูกส่งไปยังหูของผู้ฟังได้นั้น เสียงจะต้องผ่าน 3 ภาคส่วนประกอบหลักที่สำคัญของระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งดังต่อไปนี้
- ภาคอินพุท(Input) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ และการรับเสียงต่าง ๆ เข้ามาในระบบ เช่นเสียงกีตาร์ เสียงกลอง เสียงร้อง คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นซีดี โดยทั่วไปบนเวทีคอนเสิร์ตจะพบว่ามีการใช้ไมโครโฟนรับเสียงจากทั้งนักร้อง ตู้แอมป์กีตาร์ กลองชุด รวมไปถึงเครื่องเป่า และจะมีการใช้ DI Box ที่ใช้รับสัญญาณเสียงอย่าง เบส คีย์บอร์ด รวมไปถึงอุปกรณ์สร้างเสียงสังเคราะห์ต่าง ๆ อุปกรณ์ภาคอินพุทราคาเริ่มต้น
- ภาคประมวลผล (Process) เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำสัญญาณเสียงที่ได้รับจากภาคอินพุทมาปรับแต่งความสมดุลของเสียง ปรับแต่งย่านเสียง ปรับแต่งความดังเบาเสียง หรือแต่งเติมเอฟเฟคเข้าไปในเสียง อุปกรณ์ส่วนใหญ่ในภาคประมวลผลโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย ปรีแอมพลิไฟเออร์ (Pre Amplifier) หรือปรีไมโครโฟน (Pre Microphone) มิกเซอร์ (Mixer) อีคิว (EQ) เป็นต้น อุปกรณ์ภาคประมวลผลราคาเริ่มต้น
- ภาคเอ้าท์พุท (Output) เป็นส่วนสุดท้ายของระบบ ในส่วนนี้จะรับสัญญาณที่ได้จากการปรับแต่งในภาคประมวลผลมาขยายเสียงด้วยเครื่องขยายเสียง (Power Amplifier) โดยจะทำการเพิ่มขนาดสัญญาณและส่งต่อสัญญาณไปยังลำโพงที่ตอบสนองย่านความถี่ต่าง ๆ อุปกรณ์ภาคเอ้าท์พุทราคาเริ่มต้น
สรุป : 3 ภาคส่วนประกอบหลักที่สำคัญของระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งคือ ภาคอินพุท(Input) > ภาคประมวลผล (Process) > ภาคเอ้าท์พุท (Output)
บทบาทหน้าที่ Sound Engineer ต่อเครื่องเสียงกลางแจ้ง
นอกจากเครื่องเสียงกลางแจ้งที่มีคุณภาพดีเพื่อที่จะกระจายเสียงที่ดีให้แก่ผู้คนในงานคอนเสิร์ต ยังมีอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ วิศวกรเสียง (Sound Engineer) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ซาวด์เอ็น” ซึ่งซาวด์เอ็นจะมีหน้าที่ควบคุมระบบของเครื่องเสียงกลางแจ้งทั้งหมด เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการจัดการด้านเสียงในทุก ๆ ภาคของระบบ
ซาวด์เอ็นจะเป็นผู้ดูแลและควบคุมในแทบจะทุกภาคส่วนของระบบเครื่องเสียงกลางแจ้ง อย่างเช่น
- ภาคอินพุท(Input) ซาวด์เอ็นจะเป็นผู้ควบคุมเกี่ยวกับการวางตำแหน่งไมโครโฟนรับเสียง การเลือกใช้ไมโครโฟนให้เหมาะสมกับการรับเสียง รวมไปถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ในการรับสัญญาณเสียงต่าง ๆ
- ภาคประมวลผล (Process) จะเป็นส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับซาวด์เอ็นมากที่สุด เนื่องจากซาวด์เอ็นจะเป็นผู้ควบคุมระบบนี้ โดยจะมีหน้าที่ปรับแต่งความสมดุลของเสียง ปรับแต่งย่านเสียง ปรับแต่งความดังเบาเสียง หรือแต่งเติมเอฟเฟคเข้าไปในเสียง เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ออกมาดีหรือเหมาะสมกับแนวดนตรีนั้น ๆ
- ภาคเอ้าท์พุท (Output) ซาวด์เอ็นจะเป็นผู้ควบคุมเกี่ยวกับการจัดตำแหน่งต่าง ๆ ของลำโพง โดยจะคำนึงถึงคุณภาพเสียงที่ผู้คนจะได้ยินในตำแหน่งต่าง ๆ ในงานคอนเสิร์ต ให้มีเสียงที่มีคุณภาพดีในทุกบริเวณภายในงานคอนเสิร์ต
สรุป : Sound Engineer ดูแลกำกับในส่วนของระบบการแก้ไขปรับแต่ง ภาคอินพุท(Input) > ภาคประมวลผล (Process) > ภาคเอ้าท์พุท (Output)
เครื่องเสียงกลางแจ้งสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ
เครื่องเสียงกลางแจ้งไม่ได้ถูกนำมาใช้เฉพาะในงานคอนเสิร์ตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เครื่องเสียงกลางแจ้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ เช่นกัน ลานเต้นแอโรบิคที่จะต้องมีการเปิดเพลงเพื่อประกอบการเต้น งานกีฬาต่าง ๆ ก็ยังจะต้องใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งสำหรับการขยายเสียงผู้ประกาศหรือกรรมการ หรือแม้กระทั่งการออกบูทขายสินค้าต่าง ๆ สำหรับการเลือกใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งนั้น ควรจะเลือกใช้ให้มีคุณสมบัติที่ตรงตามกิจกรรม ขนาดของงานคอนเสิร์ต หรือขนาดของสถานที่ คงจะไม่เหมาะเท่าไรนักถ้าหากใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งในขนาดชุดเล็กกับงานคอนเสิร์ตที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ยกตัวอย่างการเลือกใช้เครื่องเสียงให้เหมาะสมเช่น
การเลือกใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดเล็กสำหรับวงดนตรีอะคูสติกที่จะบรรเลงในโซน Outdoor ของร้านกาแฟก็คงจะเหมาะไม่น้อยรับติดตั้งระบบเสียงร้านอาหาร
สรุป: เครื่องเสียงกลางแจ้ง
โดยทั่วไปแล้วจะมีบริษัทเครื่องเสียงที่ให้บริการด้านระบบเสียงสำหรับการจัดงานคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมต่าง ๆ ผู้จัดงานสามารถว่าจ้างบริษัทเครื่องเสียง ผู้จัดงานเพียงแค่แจ้งรายละเอียดต่าง ๆ ของงานกิจกรรม เช่น ขนาดสถานที่ รูปแบบวงดนตรี หรือสิ่งที่ต้องการเกี่ยวกับด้านเสียง เป็นต้น บริษัทเครื่องเสียงจะทำการออกแบบระบบเครื่องเสียงกลางแจ้งและเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับงาน เพื่อสร้างเสียงที่ดีที่สุดออกมา ใช้บริการเครื่องเสียงกลางแจ้ง